วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558

                        


                                     Lesson 15

 
Knowledge : 

                                                         
นำเสนอบทความ   นางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์  เลขที่ 4    
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  Science for Young Children)
ผู้แต่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
            
                วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเราความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่น เราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมาก วิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยี เช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น   เด็กเล็กๆมีธรรมชาติเป็นผู้อยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร สามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ดังนั้น กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวกกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ



นำเสนอบทความ     นางสาวรัชดา เทพเรียน   เลขที่ 5
เรื่องหลักสูตรปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่ (Science Preschool is necessary or not)  ผู้แต่ง  สสวท
            
                 การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้น ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหา แต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวการตั้งคำถาม การหาวิธีที่จะตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัยของเด็ก เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ ตามวัยของเขา ก็จะทำให้เขามีเครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้ เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ต่อไป


นำเสนอบทความ    นางสาวชะนาภา คะปัญญา  เลขที่   3
เรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 
(Early Childhood Learning Management Sciences)   
โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ 

           การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย   โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้

1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
     ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายให้ครูผู้สอนได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย

  การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
         สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้
1.เราต้องการค้นหาอะไร
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง

           การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ



 นำเสนอวิจัย   นางสาวประภัสสร คำบอนิทักษ์  เลขที่ 2
เรื่อง  การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 
(บทคัดย่อของ ณัฐชุดา สาครเจริญ)





นำเสนอโทรทัศน์ครู   นางสาวกรกช เดชประเสริฐ  เลขที่ 8
เรื่อง พัฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์

                ไข่ ให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ ถ้าครูโยนไข่ 2 ใบ พร้อมๆกัน จะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ 2 

ใบนั้น จากนั้นก็ทำการโยนไข่แล้วให้เด็กสังเกต ผลการทดลองพบว่า ไข่ 1 ใบ ไม่แตก เด็กจึงทราบว่า ไข่

ใบนั้นเป็นไข่ต้ม นั่นเอง   น้ำมัน ให้เด็กเอาน้ำมันทาที่กระดาษ ซึ่งมีน้ำมันอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำมันพืช และ 

น้ำมันหมู จากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษ ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง  น้ำมันพืช

โปร่งเเสง


นำเสนอวิจัย    นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก  เลขที่ 1
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
 (ปริญญานิพนธ์ ของ สุมาลี หมวดไธสง)

ความมุ่งหมาย

1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมเอาไว้ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเด็กปฐมวัยอายุ5 ถึง 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
1.ตัวแปรอิสระได้แก่กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.ตัวแปรตามได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2.1 การจัดหมด 2.2 การหาความสัมพันธ์
 จากการที่เด็กได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่างๆได้ดังนี้

1. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนและมีความรักรือร้นโดยที่จะทำกิจกรรมเนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่เรียนรู้สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเองเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นบางกิจกรรม เด็กได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการนอกห้องเรียนเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถ สัมผัสจับต้อง ดมกลิ่นไ ด้ยินโดยอยู่ในพื้นฐานของการปฎิบัตินอกห้องเรียน ทำให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักหวงแหนสมบัติของโรงเรียนโดยไม่เด็ดดอกไม้ไม่รังแกสัตว์ ที่พบเห็นและยังช่วย ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สวยงามอยู่เสมอ

ตัวอย่างแผน



   

Skill:
- การวิเคราะห์
- การฟัง
- การตอบคำถาม
- การระดมความคิด
- การสรุป

Apply:

สามารถนำตัวอย่างแผ่นที่เพื่อนได้นำเสนอในงานวิจัยต่างๆนำมาเป็นเเนวทางเเละประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเเละประสบการณ์ให้กับเด็กๆต่อไป  บทความเป็นเเนวคิดที่ดึงดูดให้เราสนใจในการที่จะสอนเด็ก

Teaching  Techniques:

การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
Friends แต่งกายเรียบร้อย มีการนำเสนอบทความ งานวิจัย โทรทัศน์ครู ได้เข้าใจ แต่ก็มีบางคนอธิบายไม่ค่อยเข้าใจ เตรียมความพร้อมมาไม่ค่อยดี
Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน







บันทึกการเรียนประจำวัน ที่ 17 พฤศจิกายน 2558

  

                               


Lesson 14

 









Knowledge : 


ขั้นตอนการทำขนมโค



1.นวดแป้งใส่สีตามต้องการ 
2.หลังจากนั้นใส่ไส้ที่ชอบ 
3.เอาลงหม้อที่มีนำ้ร้อนเดือยอยู่ รอจนกว่าเเป้งจะลอยขึ้นแล้ว
4.เเล้วตักขนมโคที่ลอยขึ้นมาพักไว้สักครู่
5.จึงนำไปคลุกมะพร้าวที่เตรียมไว้ 
6.เป็นอันเสร้จสิ้นการทำขนมโค พร้อมรับประทาน
**กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ กำหนดปัญหาหรือคำถามว่า "ทำอย่างไรให้แป้งกินได้" แล้วตั้งสมมติฐานว่า "ถ้าเอาขนมโคที่ทำจากเเป้งปั้นเป็นก้อนกลมๆเเล้วใส่น้ำร้อนจะเกิดอะไรขึ้น" หลังจากนั้นให้เด็กลงมือปฎิบัติ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสี ขนาด รูปทรง แล้วปรากฏว่าขนมโคลอยขึ้น สรุปได้ว่าขนมโคสุก แล้วก็ตักไปคลุกมะพร้าว เท่านี้เด้กๆก็จะได้กินขนมโคกันเเล้วละค่ะ

                                    ขั้นตอนการทำข้าวจี



    1. ปั้นข้าวเหนียวเป็นรูปทรงต่างๆตามที่ต้องการและใส่ไส้ตามต้องการ  
    2. ตั้งเตาปิ้งให้ร้อน
       3.หลังจากนั้นนำไปปิ้งให้ข้าวแข็งเริ่มเปลี่ยนสี
    4. แล้วทาไข่ ให้ทั่ว
    5. ปิ้งข้าวเหนียวที่ทาให้สุกตามที่ต้องการ
    6. เป็นอันเสร็จสิ้นการทำข้าวจี พร้อมรับประทาน ค่ะ
            
                **กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ กำหนดปัญหาตั้งคำถามโดย" เด็กคิดว่าทำยังไงให้ไข่สุกเเละทานได้" สมมติฐาน "ถ้าครูเอาข้าวเหนียวไปย่างบนเตาจะเกิดอะไรขึ้นคะ"จากนั้นก็ให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนสี กลิ่น รสชาติ เเละลงมือทำ สรุปได้ว่า ข้าวเเละไข่สุกได้นั้นเพราะโดยความร้อนทำให้สุกกลายมาเป็นข้าวจี


                                             
                                                                 ขั้นตอนการทำหวานเย็น                                   








1. เอาน้ำแข็งใส่กะละมัง ใส่เกลือ ผสมน้ำหวานกับน้ำเปล่าพอประมาณ 

2.แล้วเอาน้ำหวานที่ผสมไว้นำลงมาเท่ลงในภาชนะที่เป็นสแตนเลส

3.เขย่าภาชนะพร้อมกับกวนไปพร้อมๆกันให้น้ำหวานเริ่มจับตัวกัน

4.ดูว่าได้หวานเย็นตามที่ชอบหรือไม่ ถ้าได้ก้อเตรียมตักใส่แก้ว

5.พร้อมรับประทานหวานเย็นที่ทำกินเองที่บ้านก็ได้แล้ว ค่ะ

   **กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ กำหนดปัญหาว่า "จะทำอย่างไรให้น้ำหวานเป็นน้ำแข็ง" สมมติฐาน "ถ้าครูเขย่าน้ำหวานไปมาบนน้ำเเข็งเด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ"แล้วก็ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลง  ให้ครูกับเด็กๆสรุปไปพร้อมกัน



Skill:

- การสังเกต 
- การจำแนก  
- การวัดหรือการตวงส่วนผสม ในการทำเพื่อขนมโค หวานเย็น ข้าวจี่ ออกมาสวยและน่ารับประทาน
- การสื่อความหมาย การแก้ปัญหา
การตีความในการฟังบทความ จับประเด็นสำคัญๆ
 -การตั้งคำถาม หาคำตอบที่ยังไม่ชัดจน
 -การตอบคำถามที่ครูถามได้อย่างชัดเจน

Apply:

นำวิธีการทำcooking ไปสอนเด็กได้ในอนาคตรู้จักขั้นตอนการสอนวิทย์สาสตร์ให้กับเด็กอนุบาลมากขึ้น สามารถบอกเด็กได้ว่าเราควรเริ่มจากขั้นไหนก่อนเเละต่อๆไปเป็นอะไร ให้เด็กได้รู้จักวิธีการทำเป็นฐานและการทำเป็นกลุ่ม รู้จักการทำอย่างเป็นขั้นตอนและได้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เเละสรุปเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยการใช้คำถามเเละเทคนิคการสอนที่ให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

Teaching  Techniques:

การใช้คำถามให้นักศึกษาเห็นภาพชัดเจนขึ้น ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
การอธิบาย ยกตัวอย่าง กล้าที่จะตอบคำถาม เปิดโอกาสให้นักศึกษาถาม-ตอบ


Evaluation:

Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน