วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2558

Lesson 3


Knowledge  :  (ความรู้)


*  การบันทึก  Blogger  ควรมีลักษณะอย่างไรที่ถูกต้องสวยงามเเละเหมาะสม
* ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาความรู้นอกห้องเรียนโดยไปห้องสมุดหาหนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



สรุป เรื่องที่ 7 หินเเละเเร่ธาตุ  ( คู่กับ น.ส.วราภรณ์  แทนคำ )

กิจกรรมในบทนี้ จะเป็นการศึกษาความคิดรวบยอดต่อไปนี้
- หินมีหลากชนิด
- หินเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ จากการผุกร่อน
- หินที่เเตกร่วนเเละพืชที่ตายเเล้วจะกลายเป็นดิน
-พืชเเละสัตวโบราณทิ้งร่องรอยไว้บนดิน
- เเร่ธาตุตกผลึกได้









เเร่ธาตุ

กิจกรรมบูรณาการ






กิจกรรมคณิตศาสตร์
    

        การชั่งนํ้าหนัก นำกระป๋องกาแฟที่ใส่ก้อนหินเต็ม 2 กระป๋องไปว่างไว้ใกล้กับเครื่องชั่งนํ้าหนักในห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนชั่งก้อนหินอย่างอิสระ
กิจกรรมศิลปะ 
      ประติมากรรมก่อนหิน ให้นักเรียนสร้างประติมากรรมจากการต่อก้อนหินขนาดต่างๆ กันโดยใช้กาวสีขาว เเละหลังจากเสร้จเเล้วอาจใช้สีฝุ่นลงให้สวยงามก็ได้ ก็นำไปทัยกับกระดาษ
กิจกรรมการเล่น
      เเนะวิธีไห้นักเรียนใช้ก้อนหินเป็นของเล่นในกระบะทรายทั้งในเเละนอกห้องเรียน เช่น นำมาวางเรียงกันเป็นแถวทำเป็นผนังของบ้านเป็นต้น เเละเมื่อจะเก็บกวาดหลังเล่นเเล้ว นักเรียนก็มักจะสนุกกับการร่อนทรายเพื่อเเยกก้อนหินออกจากทราย
กิจกรรมการเคลื่นไหว้อย่างสร้างสรรค์
      ให้นักเรียนทำท่า "เดินหิน" นักเรียนชอบเดินกันเป็นวงกลมทำท่าทางตามที่ครูบอก เเละตามจังหวะที่ครูให้ด้าวยการตีกลองหรือปรบมือ  ครูเเนะนำวิธีการเคลื่อนไหวโดยเล่านิทานเช่น "เราจะไปเทียวเดินหินกัน" สมมติว่าจะเดินด้วยเท้าเปล่า เราเริ่มต้นเดินตรงทางเดินโรยกรวด โอ๊ะ! เหยียบลงไปบนก้อนหินเเตกๆ นี่ลำบากจัง เราต้องเดินโหย่งๆ เเละเดินไปให้เร็วหน่อยจนสุดทางเดิน เอ้า ก้าว ก้าว ก้าว ค่อยยังชั่ว เรามาถึงทางเดินที่เป็นทรายเเล้วทำท่าเดินต่างๆ เช่น เดินเเตะเป็นต้นเเล้วจนถึงที่พักค่อยๆนั่งพัก
กิจกรรมความคิดสร้างสรรค์
      ให้นักเรียนนำเอาก้อนหินก้อนโปรดก้อนเล็กๆมาโรงเรียน หรือเลือกก่อนที่ชอบจากในห้องเรียนก็ได้ ถือดูเเล้วคลำดูรูปร่างเเละผิวของมัน คราวนี้ปิดตาเเล้วนึกภาพว่าก้อนหินของนักเรียรขยายใหญ่ 20 เท่า ใหญ่ขนาดที่นักเรียนขึ้นไปปีนสำรวจได้เลย เมื่อเอาเท้าไปสัมผัสรู้สึกอย่างไรบ้าง.. มือล่ะ มีซอกหินให้สำรวจบ้างไหม พอหาที่เรียบๆนั่งพักได้หรือเปล่า จากนั้นค่อยให้ก้อนหินกลับสู่ขนาดปกติเพื่อให้นักเรียนกลับจากการไปปีนก้อนหินมาสู่ห้องเรียน
กิจกรรมอาหาร
      นักเรียนจะประหลาดใจที่ทราบว่าเรากินก้อนหินชนิดหนึ่งในปริมาณเล็กน้อยทุกวัน( เกลือ) นำเกลือสินเธาว์มาให้นักเรียนดูถ้าหาได้ บอกนักเรียนว่าเกลือที่ขุดได้จากใต้ดินนั้นครั้งหนึ่งเคยเป็นเกลือจากมหาสมุทรในยุคโบราณทั้งสิ้น
ความเชื่อมโยงระหว่างก้อนหินกับอาหารอีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้ก้อนหินที่มีพื้นผิวหยาบ มาใช้บดเมล็ดพืชเป็นเเป้งหยาบๆ หรือเป็นเมล็ดธัญพืช เป็นต้น
กิจกรรมทัศนศึกษา
       เดินละเเวกใกล้โรงเรียนเพื่อดูสิ่งต่อไปนี้ หินที่อยู่ในสภาพธรรมชาติ เเละหินที่สกัดมาจากการสร้างเป็นอาคาร เเละผลิตภัณฑ์จากหินเเละเเร่ธาตุ เข้าไปใกล้ๆเพื่อดูหินในธรรมชาติ ดูรอยเเตก หรือผิวหยาบเรียบเพราะต้องเผชิญกับความร้อน ความเย็น ลมเเละฝนนานนับปี วัตถุที่คนทำโดยใช้หินเเละเเร่ธาตุมีอยู่ทั่วไป ทั้งหยาบเเละละเอียด เช่น อิฐ ราวเหล็ก เเละรั้วรอบสนามโรงเรียนล้วนทำมาจากก้อนหินหรือมีวัตถุดิบเป็นเเร่ธาตุทั้งสิน
สร้างเสริมการเชื่อมโยงความคิดรวบยอด
การคงความคิดรวบยอดไว้ เนื่องจากหินเเละเเร่ธาตุเป็นสิ่งที่พบเห็นโดยทั่วไป การพูดถึงทุกครั้งที่มีโอกาสจะทำให้เป็นหัวข้อที่น่าเบื่อหนาย ครูควรทำต่อเมื่อมีสิ่งเเปลกใหม่ที่น่าพูดถึง 
การเชื่อมโยงความคิดรวบยอด
       หินเป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทดลองเรื่องของนํ้า เเละผลจากเเรงโน้มโถ่ง เวลาพูดถึงเเรงโน้มถ่วงของสนามเเม่เหล็ก ครูควรบอกนักเรียนให้ทราบว่าต้นกำเนิดของวัตถุที่มีพลังเเม่เหล็กคือหินที่เรียนว่า หินเเม่เหล็ก
การสนับสนุนจากครอบครัวเเละชุมชน
      ขอยืมหินแปลกๆ หรือฟอสวิลจากครอบครัวของนักเรียนมาให้ทั้งชั้นดู โดยติดเทปกาวเขียนชื่อผู้ที่ให้ยืมไว้เพื่อช่วยให้คืนเจ้าของให้ง่าย


Skills  :  (ทักษะ)

-การค้นคว้าอย่างอิสระ
-เเลกเปลี่ยนความรู้กันในชั้นเรียน


Adoption  :  (การนำไปใช้)


-สามารถนำข้อมูลในการค้นคว้าในครั้งนี้นำไปเป็นเเนวทางในการสอน

ในอนาคตได้

Teaching  Techniques : ( เทคนิคในการสอน)

-ให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

-มีการบรรยายในการสอน

-ใช้เทคโนโลยี เช่น การทำ blogger


Evaluation  :  (การประเมิน)


ประเมินอาจารย์ เข้าสอนได้ตรงเวลา มีกิจกรรมที่เเปลกใหม่ให้ทำ

เรื่อย มีการออกไปเรียนนอกห้องเรียน

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน เข้าเรียนตรงเวลา การเเต่งกายสุขภาพ 

ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายได้เสร็จตรงเวลา

ประเมินตนเอง มีความพร้อมในการมาเรียน ตั้งใจเรียน สืบค้นข้อมูล

อย่างตั้งใจ

ประเมินสภาพห้องเรียน น่าเรียน อุปกรณ์ในการเรียนพร้อม

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2558


Lesson 2


Knowledge :

ทบทวนบทเรียนรายวิชาการจักการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับ

เด็กปฐมวัย ในคาบที่เเล้วในหัวข้อหลักเเล้วเเยกความสำคัญใน

รายวิชา ออกเป็น 3 คำใหญ่ๆ



>>สิ่งที่อยู่รอบตัวเราล้วนเเต่เป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องเรียนรู้<<

**เริ่มต้นที่วิทยาศาสตร์จะทำอย่างไรให้จัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์กับเด็กให้สอดคล้องกับตัวเด็ก?? 

จะแบ่งเกณฑ์ตามช่วงวัยโดยมีอายุเป็นตัวกำกับ
    ในการเรียนวิทยาศาสตร์นอกจากสื่อหรือให้เด็กเรียนรู้โดยการคิดเองโดยใช้ เครื่องมือในการออกเเบบ คือ ภาษาเเละคณิตศาสตร์ จึงต้องสอนเเบบบูรณาการ โดยจะต้องจัดการเรียนให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์และภาษา เช่นเรียนการเปลี่ยนเเปลงของผลไม้โดยผ่านกิจกรรม เด็กก็จะได้ภาษาผ่านจากการอธิบาย วิทย์ก็จะได้ในการใช้การสังเกต หลักในการสอนต้องเลือกเป็น " หน่วย " เลือกสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก , สิ่งที่เด็กสนใจ , ผลกระทบ เป็นต้น 

ทำไม?? จึงต้องเรียน

จากที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญกับมนุษย์ จึงต้องเรียนรู้เพือ
1.รู้จักวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น
2.เข้าใจธรรมชาติ การเป็นอยู่
3.สามารถอยู่ร่วมกันได้ เเละเพื่อความอยู่รอด
4.สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาความคิดได้อย่างถูกต้อง
5.เพื่อรู้ ข้อดี ข้อเสีย
6.มีหลักในการดำเนินชีวิตที่มีเหตุผล

พัฒนาการทางสติปัญญา (cognititive development)

**ปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับสิ่งเเวดล้อม
เรียนรู้เพื่อให้อยู่รอด เริ่มตั้งเเต่เเรกเกิดการมีปฎิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จัก"ตน"(self) เพราะตอนเด็กจะไม่สามารถเเยกตนออกจากสิ่งเเวด
ล้อมได้ การเรียนรู้ทุกอย่างเพื่อเอาชีวิตรอดปรับสมดุลให้เข้าสิ่งเเวด
ล้อม
 กระบวนการปฏิสัมพันธ์ เเบ่ง 2 กระบวนการ


ทฤษฎีพัฒนาการด้านการคิดของเพียเจย์ มี 4 ขั้น

ขั้นเเรก (Sensorimoter) เเรกเกิด- 2 ปี เด็กมีปฎิกิริยาโต้ตอบ ซึมซับ ดูดนิ้วพฤติกรรมง่ายๆ ทำซํ่าๆ ทำให้เกิดการลองผิดลองถูก

ขั้นที่สอง (Preconceptual Thought) 2-4 ปี เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อม มีพัฒนาการทางด้านภาษามากขึ้น เห็นอย่างไรตอบอย่างนั้น

ขั้นที่สาม (Concrete operation stage) คิดเป็นนามธรรมมากขึ้น รู้จักการเเก้ปัญหาว่าเพราะอะไร มีความละเอียดอ่อน เป็นต้น

การนำทฤษฎีไปใช้
ให้เด็กลดการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางลงได้โดยให้เดกมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อมเเละบุคคลให้เด็กมีสังคมที่กว้าง เด็กจะปรับตัวเเละทำให้เกิดความสมดุล

*** เพราะฉะนั้นครูต้องรู้เเละเข้าใจถึงพัฒนาการให้สอดคล้องกับความสามารถด้วย ให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามวัยอย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้นตอน

Activity:
การช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับคำถามที่ อาจารย์ได้ถาม
การวิเคราะห์ใจความสำคญในเนื้อการเรียนให้เป็นประโยคสั้นๆ

Adoption:
นำความรู้ที่ได้มาประยุคกับการสอนในอนาคต
สามารถนำไปเป็นแนวทางในการออกเเบบสือ หรือแผนการสอน

Teaching  Techniques
ใช้คำบรรยายในการสอนผ่านสือ powerpoin
ใช้คำถามปลายเปิด
เปิดโอกาสให้เด็ได้มีส่วนร่วมในการคิด

Evaluation:
  • Teacher เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาได้ครบ
  • Friends  มีบางคนเข้าเรียนสาย คุยกันบ้างบางวเวลาที่อาจารย์สอน
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน
Photobucket - Video and Image Hosting


วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทความ

 
 
สรุปบทความ
 
 
วิทยาศาสตร์ แสนสนุก  
   เด็กเป็นนักค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้โดยธรรมชาติ  การหยิบจับ  สัมผัส  และการสังเกต เป็นวิธีการเรียนวิทยา-ศาสตร์  พฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็ก  คล้ายกับการเรียนเหตุผลทางคณิตศาสตร์   เช่น  การจำแนก การเปรียบเทียบ  การหาความสัมพันธ์ของวัตถุ  การเรียนวิทยาศาสตร์และการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงพัฒนาควบคู่กัน  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์จะเน้นการเรียนทักษะวิทยาศาสตร์และธรรมชาติรอบตัว  ได้แก่  เรื่องพืช  สัตว์  เวลา  ฤดูกาล  น้ำ  และอากาศร่วมด้วย
 
         โดยพื้นฐานแล้ว  วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการสังเกตโลกรอบตัวและการสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่เห็น ศึกษาตั้งแต่สิ่งเล็ก ๆ อย่างเช่นแมลงในสนามหญ้า ไปจนถึงสิ่งใหญ่ ๆ อย่างดวงดาว  ในขณะที่เด็ก ๆ กำลังมองผ่านกล้องจุลทรรศน์หรือกล้องส่องทางไกล นั่นเท่ากับว่าเด็ก ๆ กำลังเก็บรายละเอียดหรือเก็บข้อมูล ยิ่งดูมาก สังเกตมาก ก็ยิ่งได้ข้อมูลมาก 
                เคยได้ยินเด็ก ๆ  ตั้งคำถามแบบนี้กันบ้างไหม...  ทำไมปลาไม่นอน  ทำไมต้นหญ้าหน้าตาเหมือนต้นข้าว ภาพในโทรทัศน์เกิดขึ้นได้อย่างไร   ทำไมเรือลำใหญ่ ๆ จึงไม่จมน้ำ  ดาวหายไปไหนในตอนกลางวัน   คำถามมากมายจากสมองน้อย ๆ   เด็ก ๆ คิดคำตอบเหล่านี้บ้างไหม แล้วมีใครเคยคิดคำตอบไว้บ้างหรือยัง ปัญหาชวนฉงนเหล่านี้  คือจุดเริ่มต้นของทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญซึ่งพ่อแม่  ผู้ปกครอง และครู ไม่ควรมองข้าม
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 
               เมื่อเด็กช่างซักถาม  อย่าทำท่ารำคาญ  แต่ต้องพยายามตอบคำถามให้ได้มากที่สุดสร้างสภาพแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นภายในบ้าน  ห้องเรียน  หาหนังสือเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์สำคัญของโลก  การทดลองสนุก ๆ หรือเกร็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเตรียมไว้เสมอปลูกฝังความคิดทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น  พาเด็ก ๆ เดินไปตามเส้นทางรอบ ๆ บริเวณโรงเรียน กระตุ้นให้เด็กสังเกตสิ่งรอบตัวแล้วนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะ เพราะการได้เห็น  ได้สัมผัสจากของจริง  จะช่วยกระตุ้นความใฝ่รู้ของเด็กได้อีกมาก
 
               การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยเป็นการตอบสนองและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้โลกธรรมชาติรอบตัวและพัฒนาทักษะทางสติปัญญาต่าง ๆ เนื่องจากเด็กในระดับปฐมวัยมีธรรมชาติของการสืบเสาะหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์อยู่ในตนเอง  การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม  โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากที่สุด  ให้ได้ทั้งกระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจะช่วยส่งเสริมศักยภาพของเด็กในการพัฒนากรอบแนวคิดและทักษะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในอนาคต
สรุปโดยรวม...        
กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ
1.  การฝึกทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์
2.  การเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน   โดยเน้น
     การใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ  1) การสังเกต   2) การจำแนก  เปรียบเทียบ        3) การวัด  4) การสื่อสาร      5) การทดลอง     และ 6) การสรุปและนำไปใช้ 
           สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์ คือ  การสร้างให้เด็กมีนิสัยค้นคว้า  การสืบเสาะ  และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว  รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย
 

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2558



 Lesson1
1.ความรู้ที่ได้รับ  


*อาจารย์แนะนำรายวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
*การทำ Bloger ให้ใช้ภาษา English
                                                                                                                                     

2.ทักษะ (skills) >>สิ่งที่ได้รับ

3.การนำไปใช้ (Adoption) >>เพื่อออกเเบบการสอน
                                         >>การเขียนแผน

4.เทคนิค (technique) >> ที่ได้รับจากอาจารย์สอน

ทักษะ  
การช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับความหมายของ "สติปัญญา" 

การนำไปใช้ 
. ใช้ในการไปสอนในอนาคตเเละในการเขียนแผนการสอน

เทคนิคการสอน 
ใช้คำบรรยาย
. นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน
. ใช้คำถาม

ประเมิน 
. อาจารย์ผู้สอน  เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมสื่อในการสอนที่พร้อมเเละให้คำชี้เเจ้งเนื้อหารายวิชาที่ชัดเจนเเละครบถ้วน มีการใช้เทคนิคที่แปลกใหม่ในการสอนทำให้การเรียนในครั้งเเรกเป็นไปอย่างน่าประทับใจ

. เพื่อน  เพื่อนบางส่วนมีการเข้าเรียนสาย ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามที่ดี มีความคิดที่หลากหลาย

. ตัวเอง  เข้าเรียนสายไป 10 นาที ตอบคำถามได้อย่างคล่องเเคลว มีสมาธิในการเรียน ตั้งใจฟังการบรรยาย

. ห้องเรียน บรรยายภายในห้องน่าเรียนอุปกรณ์เเละเทคโนโลยีพร้อม