วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย


                                 สรุปวิจัย

เรื่อง  การส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์
 ผู้เเต่ง สุนดา เภาศรี
      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์เเละเพื่อเปรียบทียบทักษะการคิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดเปรียบทียบละการคิดเเก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยระหว่างรียนละหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาได้เก่ นักรียนช้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านวังทอง จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้เเก่ หน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วย ประกอบด้วย 1) ผีเสื้อ 2) นำ้ 3) สัตว์เลี้ยง 4) ผัก 5) มด แผนการจัการส่งสริมทักษาะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ จำนวน 25 เเผน 
      วิธีการส่งเสริมทักษะการคิดสมารถเริ่มต้น ได้ตั่งเเต่ระดับปฐมวัยโดยเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการสืบเสาะเเสวงหาข้อมูลความรู้ที่เด็กสนใจ ให้รูจักคิด เละจดจำความรู้ จากสิ่งที่คิ ิ่งที่ทำ ได้สัมผัส รบรู้ ค้นคว้า ทดลองในสิ่งที่อยากร้อยากเห็น การจัดประสบการณ์ส่งสริมทักษะการคิดโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผูชี้นะเละอำนวยความสะดวก ใช้คำถามกระตุ้นเรงจูงใจให้เกิดดารคิ สนับสนุนลงมือปฎิติกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสท้ง 5








บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร ที่ 27 ตุลาคม 2558




Lesson 11 

 
Knowledge : 

กิจกรรมที่    ดอกไม้ พับกระดาษแล้วตัดให้เป็น 4 กลีบระบายสีให้สวยงาม แล้วพับทั้ง 4 กลีบเข้าหากัน หลังจากนั้นนำลงลอยน้ำพร้อมกันกับเพื่อนในกลุ่มแล้วให้แต่ละคนสังเกตดอกไม้ของตนเองว่ามีปฏิกิริยายังไงดอกไม้ของแต่ละคนค่อยๆบานออกอย่าช้าๆ ปัจจัยที่ทำให้ดอกไม้บาน คือ การพับกีบของแต่ละคนถ้าพบกลีบแน่นไปก้อจะกางออกช้าแต่ถ้าพับกลีบหลวมดอกไม้ก้อจะกางออกเร็ว หลังจากนั้นสีที่ระบายบนกระดาษดอกไม้ก็ค่อยๆจ่างผสมกับน้ำ





กิจกรรมที่ 2 ทดลองโดยใช้ขวดน้ำอัดลมเจาะรู รูเเล้วใช้สก็อตเทปปิดรูทั้ง 3 รูไว้หลังจากนั้นเติมน้ำให้เต็มขวด แล้วค่อยๆเปิดรูเต่ละรู ล้วให้นักศึกษาสังกตว่ารูไหนน้ำจะพุ่งออกมาได้ไกลสุด
 สรุปได้ว่า หลังจากเติมน้ำเสร็จแล้ว รูที่อยู่ตรงกลางน้ำจะพุ่งออกมาได้ไกลที่สุด เพราะว่ามีแรงดันมากกว่ารูอื่น


กิจกรรมที่ 3 น้ำพุ  ทดลองโดยใช้ ขวด สายยาง มีฐานเป็นดินน้ำมัน   แล้วทน้ำให้เต็มขวด น้ำก็จะไหลไปตามสายยางเป็นน้ำพุ แต่ถ้าปิดฝาขวดน้ำจะไม่ไหล และถ้ายิ่งวางถ้วยต่ำน้ำยิ่งไหลสูงเพราะน้ำจะไหลลงสู่ที่ต่ำ


กิจกรรมที่ 3 ลูกยางกระดาษ  ใช้กระดาษ คริปหนีบกระดาษ  ตัดกระดาษเป็นสองแฉกพับฐานข้างล่างใช้คริปหนีบกระดาษหนีบตรงฐาน แล้วทดลองโยน ถ้าเราทำปีกตรงลูกยางกระดาษจะหมุนได้ดี แต่ถ้าทำปีกโค้งปีกของลูกยางจะไม่หมุน


 กิจกรรมที่ 4 ไหมพรมเต้นระบำ  ทดลองโดยใช้ หลอด ไหมพรม  ตัดหลอดครึ่งหนึ่งแล้วร้อยไหมพรม หลังจากนั้นเป่าไหมพรมก็จะเคลื่อนที่ และยิ่งเป่าแรงไหมพรมก็จะเต้นแรง
Skill:

  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม
  • การระดมความคิด
  • การสังเกต
  • การจบันทึก


Apply:

  • นำไปใช้ในการสอนเเละจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้สำหรับเด็กปฐมวัยและเพื่อเด็กจะได้ทดลองทำด้วยตนเองพร้อมกับเพื่อนๆ

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่างที่เกี่ยวกบกิจกรรมวิทยาศาสตร์

Evaluation:



  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน





วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร ที่ 20 ตุลาคม 2558



Lesson 10




Knowledge : 

นำเสนอ วิจัย


นางสาว ปรางชมพู บุญชม เลขที่ 9 นำเสนอเรื่อง : การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดกิจกรรม


>>เเบบประเมินทักษกระบวนการทางิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย<<

นางสาว ชนกานต์ แสนสุข เลขที่ 11 นำเสนอเรื่อง: การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ร่วมกันระดมความคิดในการทำ Cooking  ภายในกลุ่ม ทำทาโก๊ยากิ
ส่วนผสม 
1. แป้งทาโกะ 1 ถุง (ถ้าไม่มี ใช้แป้งสาลีเอนกประสงค์ หรือแป้งว่าว)
2. ไข่ไก่ 2 ฟอง
3. น้ำเปล่า 7 ถ้วยตวง
4. ทาโกะ (ปลาหมึกยักษ์ญี่ปุ่น) หั่นสี่เหลี่ยมเต๋า
5. ขิงดองญี่ปุ่นหั่นฝอยเล็กๆ
6. ต้นหอมซอย
7. ปลาแห้งญี่ปุ่น (สำหรับโรยหน้า)
8. ซอสหวาน สำหรับทาโกะยากิ
9. สาหร่ายผง
10. มายองเนส
11. น้ำมันพืชสำหรับเช็ดเตา

วิธีทำ
1. ค่อยๆผสมแป้ง 1 ถุงกับน้ำและไข่ไก่ จนเนื้อแป้งเนียนละเอียด
2. ตั้งเตาขนมครกจนเริ่มร้อน เช็ดเตาด้วยน้ำมันพืช (เพื่อไม่ให้ขนมครกติดเตา)
3. หยอดแป้งลงไปจนเต็ม
4. ใส่ส่วนผสมของปลาหมึก ต้นหอมซอย ขิงดอง ลงไป
5. รอจนด้านล่างสุก ใช้ไม้จิ้มพลิกกลับด้านรอจนสุกอีกแล้วกลับด้าน ได้ขนมครกลูกกลมๆกลิ้งไปมาจนสุกทั่ว
6. ตักใส่จานราดด้วยมายองเนส และซอสทาโกะยากิ โรยหน้าด้วยปลาแห้งและสาหร่ายผง

Skill:

  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การทำงานเป็นกลุ่มเเละการระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม


Apply:

  • นำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเพื่อเด็กจะได้ทดลองทำด้วยตนเองพร้อมกับเพื่อนๆ
  • เพื่อเป็นเนวทางในการเขียนเเผนการสอน

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ
  • สอนโดยการนำตวอย่างมาใหดู


Evaluation:

  • Teacher   สอนด้วยความสนุกสนาน เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย คุยกนบ้าง
  • Self  เข้าเรียนสายนิดหน่อย แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียนเเละตั้งใจในการตอบคำถาม


บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2558



Lesson 9 




Knowledge : 

นำเสนอบทความ
นางสาว สุทธิกานต์ กางพาพันธ์  เลขที่ 13  นำเสนอเรื่อง:โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
      สรุปได้ว่า :ได้เห็นความสำคัญของการปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัยได้จัดกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ ความคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยจะได้ร่วมหาคำตอบจากคำถามที่ว่า  "โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร"
เช่น กิจกรรม"หวานเย็นชื่อใจ"
     เด็กๆค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว  เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ้งมีอุณภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณภูมิต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
นางสาว ศุทธินี  โนนริบูรณ์ เลขที่ 14  นำเสนอเรื่อง เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง
 สรุปได้ว่า : ครูพัชรา อังกูรขจร ครูชำนาญการ รร.บ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นวิทยากรแกนนำของ สสวท.ในการขยายผลอบรมครูในท้องถิ่น ได้นำแนวทางจาก สสวท.ไปจัดกิจกรรม เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่งและยังไปขยายผลสู่พี่เลี้ยง และครูฝึกปฏิบัติการสอน รวมทั้งจัดอบรมให้ผู้ปกครอง และจัดกิจกรรมในลักษณะของฐานการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งให้ปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง กิจกรรมนี้ มีผู้ปกครองร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่ายๆ ที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน การพัฒนาเด็กที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ควรให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยบูรณาการผ่านการเล่นอย่างต่อเนื่อง เด็กจะสนใจเรียนรู้อย่างมีความสุขการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ได้ผลดีควรได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพราะเด็กปฐมวัยเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งในบ้านและที่โรงเรียน ผู้ปกครองจึงต้องมีบทบาทสำคัญอีกด้วย  
นางสาว เจนจิรา เทียมนิล เลขที่ 12  นำเสนอเรื่อง:สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก
      สรุปได้ว่า : การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวัตถุที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเเองได้เพราะมีแรง แต่คนเรามองไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแรงแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก และไม่ดูดวัตถุที่ไม่เป็นโลหะ เช่น ไม้ พลาสติก แก้ว

>>  อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอของเล่นของเพื่อนอีกเซ็ค <<

โดยอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ของของเล่นที่เราได้ว่ามีกลไกอย่างไร สอนในเรื่องของอะไร

 ซึ่งจะมีทั้งเรื่อง ลม เสียง แรงโน้มถ่วง ความดัน แสง เป็นต้น




Skill:

  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การฝึกค้นคว้าออกแบบของเล่นด้วยตนเองอย่างสร้างสรรค์
  • มีการบรรยายโดยใช้เทคโนโลยี


Apply:

  • นำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและสามารถนำของเล่นชิ้นนี้ไปไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ได้เพื่อเด็กจะได้เล่นและทดลองด้วยตนเองพร้อมกับเพื่อนๆ

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน



บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2558



Lesson 8



Knowledge : 
สรุป  ความรู้จากโทรทัศน์ครู
           
นางสาว เวรุวรรณ  ชูกลิ่น  เลขที่17  เรื่อง "กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" โดย : ครูพงศกร  ไสยเพชร

          
    กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยของเล่นเเละการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์โดยของเล่นเเละการทดลองควรใช้ของที่หาได้ง่าย ๆ เพื่อให้เด็กมีโอกาสลงมือทำด้วยตนเอง โดยของเล่นที่ครูประดิษฐ์เป็นตัวอย่างให้เด็ก ๆ ดู มีทั้งหมด 4 กิจกรรมเเต่ยกตัวอย่างเพียง 2 กิจกรรม

ตัวอย่างที่ 1 การทดลองเรื่องเเรงลอยตัว โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ

           โดยที่หลอดลอยตัวได้ เพราะ มีอากาศที่ถูกกักเก็บไว้ เเรงลอยตัวเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกอากาศแทนที่ เมื่อบีบขวดความดันภายในขวดจะเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาตรอากาศเล็กลง เเรงลอยตัวจึงลดลงตามปริมาตรอากาศ หลอดจึงจมลง เมื่อคลายมือความดันในขวดจะลดลง เมื่อความดันอากาศลดลงปริมาตรอากาศก็จะเพิ่มขึ้น เเรงลอยตัวก็เพิ่มขึ้นตามปริมาตรอากาศหลอดจึงลอยตัวขึ้น


ตัวอย่างที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศเเละความดันของอากาศ  โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : เลี้ยงลูกด้วยลม
         
            โดยธรรมชาติของอากาศ ที่ใดอากาศไหลเร็ว ความดันอากาศเเถวนั้นจะน้อย ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบ ๆ มีความดันอากาศมากกว่า ก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า (หลักการของเบอร์นูลลี) เมื่อเราเป่าลมได้ลูกบอล แรงลมจะผลักลูกบอลให้ลอยขึ้น ลมที่โคนด้านล่างของลูกบอลจะไหลไปด้านข้าง ๆ ขึ้นไปสู่ข้างบน ทำให้มีเเรงผลักอยู่รอบ ๆ บริเวณลูกบอลที่มีลมเป่าขึ้น



นางสาววัชรี วงศ์สะอาด  เลขที่ 16 เรื่อง วัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว  จากข่าว  Family News Today

- ครูจะพาเด็ก ๆ สำรวจสิ่งเเวดล้อมรอบตัวทุกเช้าหลังเข้าเถวเสร็จ ครูจะพาเด็กเดินสำรวจรอบๆโรงรียน เด็กจะได้มีการสังเกต

-วิธีการสอนจาการสำรวจจะเชื่อมโยงไปยังไปถึงหน่วยการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วย เช่น คุณครูสอนเด็กเรื่องหญ้าแฝก ว่าทำไม่ถึงกันดินทลายได้ ครูก็จะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับเด็ก เละเด็กก็จะได้รียนรู้โดยการลงมือปฎิบัติจริง

-โรงเรียนยังส่งเสริมวิทยาศาสตร์โดยเริ่มต้นตั่งเเต่ครอบครัวด้วยการทำกิจกรรมในการหาคำตอบที่เป็นเหตุผลร่วมกัน เพราะครอบครัวเป็นหน่วยที่สำคัญที่ทำให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น

กลุ่มของดิฉันได้หน่วย ธรรมชาติ  เรื่อง ยานพาหนะ


กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีทั้งหมด 8 สาระ

สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร

สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่

สาระที่ 5 : พลังงาน

สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงโลก

สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ

สาระที่ 8 : ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



Skill:
  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อฝึกการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน

Apply:
  • มีความรู้ในการเขียนเเผนเเละการออกเเบบกิจกรรมมากขึ้น
  • สามารถนำมายเเมบที่เราได้จัดทำไปสู่การเขียนแผนได้ในครั้งต่อไป  นำเอาสิ่งที่ได้จากการฟังโทรทัศน์ครูจากที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น
  • มีการบรรยายผ่านเทคโนโลยี
  • มีการให้นักศึกษาไปสืบค้นข้อมูลด้วยตนเองเพื่อเป็นการฝึกให้เกิดการเรียนรู้


Evaluation:
  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย ตั้งใจตอบคำถาม
  • Self        เข้าเรียนสาย 10 นาที  แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียนมีการตอบคำถามเเละฟังอย่างตั้งใจ